วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559


บ้านเรือนไทยภาคกลาง



บ้านเรือนไทยภาคกลาง เป็นหนึ่งในสี่รูปแบบของเรือนไทยทั้งสี่ภาคที่ได้รับความนิยมสร้างขึ้นเพื่ออยู่อาศัยมาตั้งแต่สมัยโบราณ เรือนไทยภาคกลางนั้นจัดว่าเป็นเรือนไทยที่ได้รับความนิยมมากกว่าเรือนไทย ภาคอืน ๆ  ลัษณะของเรือนไทยภาคกลางจะยกใต้ถุนสูง โดยมี ระเบียง และนอกชานทอดรับในลักษณะไล่ระดับ ลดหลั่นกันไป  พื้นระเบียงลดจากพื้นห้องนอน 40 เซนติเมตร 
พื้นชานลดจากระเบียงอีก 40 เซนติเมตร และปิดด้วยไม้ระแนงตีเว้นช่องโปร่ง สามารถมองลงมายังใต้ถุนด้านล่างได้ การลดระดับ พื้นเช่นนี้จะช่วยให้ลมพัดผ่านจากใต้ถุนขึ้นมาข้างบน ทำให้เรือนไทยเป็นเรือนที่ไม่ร้อนอบอ้าว เพราะมีอากาศเย็นไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งการมีตัวเรือนที่สูง ทำให้สามารถใช้พื้นที่ด้านล่างเก็บเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำกสิกรรม ป้องกันน้ำท่วม 
และยังป้องกันสัตว์ร้าย หรือคนร้ายที่จะมาคุกคามคนในบ้านในยามค่ำคืน
หลังคาของเรือนไทยภาคกลาง มีความคล้ายคลึงกับเรือนไทยภาคอื่น ๆ ค่ะ คือมีหลังคาทรงจั่วสูง ชายคายื่นยาว ลักษณะคล้ายหลังคาทรงมนิลา ใช้ไม้ทำโครงและใช้จาก แฝกหรือกระเบื้องดินเผาเป็นวัสดุมุงหลังคา วัสดุเหล่านี้ต้องใช้วิธีมุงตามระดับองศาที่สูงชันมากเพื่อให้น้ำฝนไหลได้ เร็วและไม่เกิดอาการรั่ว ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าชื่นชมของคนไทยเรา ก็คือการทำหลังคาทรงสูงนี้  มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังตัวบ้าน ทำให้ผู้อยู่อาศัยได้รับความเย็นสบาย สำหรับเรือนครัว ทั่วไปตรงส่วนของหน้าจั่วทั้ง 2 ด้าน ทำช่องระบายอากาศ 

โดยใช้ไม้ตีเว้นช่องหรือ ทำเป็นรูปรัศมีพระอาทิตย์ เพื่อถ่ายเทควันไฟออกจากเรือนครัวได้สะดวก 
และทำชายคากันสาดให้ยื่นออกจากตัวเรือนมาก ๆ เพื่อกันแดดส่องและฝนสาด
และเนื่องมาจากดินฟ้าอากาศของบ้านเรา ค่อนข้างจะมีลักษณะร้อนอบอ้าวเกือบตลอดทั้งปี 
จึงมีลักษณะนอกชานที่ค่อนข้างกว้าง โดยมีพื้นที่ใช้สอยถึงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมด ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วยจะมีปริมาณถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว โดยที่คนไทยตั้งแต่สมัยโบราณ ใช้พื้นที่ส่วนนี้เป็นส่วนอาศัย พักผ่อน และทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่วนที่อาศัยหลับนอนมีฝา กั้นเป็นห้อง มีเนื้อที่เพียงร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น


  • บันไดห้ามใช้จำนวนขั้นคู่ (ต้องเป็นขั้นคี่ นับเฉพาะขั้น ไม่นับพื้นหรือชานพัก)
  • บันไดไม่ลงไปทางทิศตะวันตก
  • ไม่หันหัวนอนในทิศตะวันตก
  • ไม่ทำน้ำพุน้ำตกไหลเข้าตัวเรือน
  • ไม่ปลูกต้นหางนกยูง ลั่นทม โศก ตรุษจีน ฯลฯ
  • ไม่ทำทางเข้าลอดใต้ห้องน้ำหรือห้องส้อม
  • ไม่ทำอาคารรูปตัว “ที” มีปีกเท่ากันส้องข้างเรียก “แร้งกระพือปีก” ถือเป็นอัปมงคล 8
  • ไม่ทำเรือนทะลุหน้าตลอดหลัง ถือว่าเป็น “เรือนอกแตก” เป็นอัปมงคล
  • ไม่ทำภูเขาจำลองไว้ในบ้าน
  • ห้ามใช้ไม้ตะเคียน ไม้มะค่าในการปลูกเรือน
  • ห้ามใช้เสาตกมัน
  • ห้ามทำทางเข้าออกคู่ไว้ตอนมุมของพื้นดินที่ทางสามแพร่งหรือสี่แยก
  • ห้ามนำภาพยักษ์ไว้ในบ้าน
  • ห้ามนำหนังใหญ่หรือหนังตะลุงไว้ในบ้าน
  • ห้ามใช้ช่อฟ้า ใบระกา เครื่องวัด เครื่องหลวง หรือมีแต่เครื่องประดับชั้นสูงในบ้าน 1
  • ห้ามปลูกเรือนคร่อมตอ
  • ห้ามตั้งศาลพระภูมิใต้เงาเรือน
  • ไม่ปลูกต้นมะละกอใกล้ตัวบ้าน
  • ห้ามทำบันไดเวียนซ้ายขาขึ้น
  • ไม่ปลูกบ้านใต้ต้นไม้ใหญ่
  • ห้ามมิให้มีสัตว์ตกตายในหลุมตอม่อ
  • ห้ามใช้เสาไม้มีตาในระยะ “เป็ดไซ้ ไก่ตอด สลักรอด หมูสี”
  • ห้ามวางรูปพื้นเรือนในอัตราส่วนที่ใกล้เคียงรูโลงศพ
  • ห้ามทำเตียงนอนขาสิงห์ เครื่องใช้ขาสิงห์
  • ห้ามนำศพออประตูเรือน หรือลงบันไดบ้าน(ให้ออกทางด้านฝาหุ้มกลอง เพราะสะดวกในการเคลื่อนศพ ฝาหุ้ม กลองถอดออกและประกอบใหม่ได้ )
  • ห้ามนำของวัดเข้าบ้านหรือมาประกอบเป็นส่วนหนึ่งของบ้าน
  • ห้ามทำทางเข้าเวียนซ้ายของอาคาร

      รูปทรงเรือนไทยภาคกลาง

    เป็นเรือนยกพื้น ใต้ถุนสูง สูงจากพื้นดินเสมอศรีษะคนยืน รูปทรงล้มสอบ หลังคาทรงสูงชายคายื่นยาว 
    เพื่อกันฝนสาด แดดส่อง นิยมวางเรือนไปตามสภาพแวดล้อมทิศทางลมตามความเหมาะสม   
    เช่น อยู่ริมน้ำ ลำคลอง ตัวเรือนก็วางยาวไปตามลำน้ำด้วยหรืออยู่ริมถนนก็วางตัวเรือนไปตามถนนตำแหน่ง ของผังเรือนขึ้น
    อยู่กับคติความเชื่อเป็นหลัก


    เรือนไทยในภาคกลาง
    ถือเป็นแบบฉบับของเรือนไทยเดิมที่เราคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบ เรือนฝาปะกนถือเป็นเรือนไทยแท้ 
    เรือนไทยฝาปะกน คือเรือนที่ฝาทำจากไม้สัก   มีไม้ลูกตั้งและลูกนอน และมีแผ่นไม้บางเข้าลิ้นประกบกันสนิท 
    หน้าจั่วก็ทำด้วยวิธีเดียวกัน เราจะพบเห็นเรือนไทยภาคกลาง   รูปแบบต่าง ๆ อาทิ    เรือนเดี่ยว เรือนหมู่ เรือนหมู่คหบดี 
    และจากการดำเนินชีวิตของคนไทยในอดีตผูกพันกับแม่น้ำลำคลอง   อันเป็นทางคมนาคมที่สะดวกในเขตภาคกลางจึงเกิดรูปแบบ
    เรือนพักอาศัยเช่นเรือน แพ เรือนไทยในภาคกลางอาจจำแนกออกเป็น
    • เรือนเดี่ยว
    เป็นเรือนสำหรับครอบครัวเดี่ยว สามีภรรยาและลูกที่ยังไม่ออกเรือน   สร้างขึ้นโดยมีประโยชน์ใช้สอยที่เพียงพอกับครอบครัวเล็ก ๆอาจเป็นเรือนเครื่องผูกเรือนเครื่องสับ หรือผสมผสานกันก็เป็นได้แล้วแต่ฐานะทางเศรษฐกิจ จะเอื้ออำนวย ประกอบด้วย 
    เรือนนอน 1 หลัง เรือนครัว 1 หลัง ระเบียงยาว ตลอดเป็นตัวเชื่อมระหว่างห้องนอนกับชาน

    • เรือนหมู่           
    เรือนหมู่ คือ เรือนหลายหลังซึ่งปลูกอยู่ในที่เดียวกันเมื่อลูกเต้าออกเหย้าออกเรือนไปแล้ว เรือนเหล่านี้หลังหนึ่งเป็นเรือนเดิม ซึ่งพ่อแม่อยู่ส่วนที่เหลือเป็นเรือน หลังย่อมกว่า เป็นที่อยู่ของบุตรสาวซึ่งออกเรือนไป แล้วจำนวนหลัง แล้วแต่จำนวนบุตรสาว เนื่องจากสมัยก่อนลูกชายแต่งงานส่วนใหญ่
    จะไปอยู่บ้านผู้หญิง ส่วนลูกผู้หญิงจะนำเขยเข้าบ้าน
    • เรือนหมู่คหบดี
    เรือนหมู่คหบดีโบราณ เป็นเรือนสำหรับผู้มีอันจะกินดังคำกล่าวว่า " ถ้าบ้านใด มีแม่เรือน 2 หลัง หอนั่ง 
    ครัวไฟ  หัวกระไดต้นโมกเป็นบ้านเรือนชั้นผู้ดีมีอันจะกิน " ลักษณะการจัดเรือนหมู่คหบดีของ
    โบราณเป็นเรือนขนาดใหญ่มีเรือนคู่และเรือนหลังเล็กหลังน้อยรวมเข้าด้วยกัน แต่ละหลังใช้ประโยชน์ต่างหน้าที่กันออกไป 
    ประกอบด้วย เรือนนอน  เรือนลูก เรือนขวาง  เรือนครัว หอนก และชาน

    • เรือนแพ        
    สายน้ำกับชีวิตแบบไทย ๆอยู่คู่กันมาโดยตลอด ส่วนใหญ่คนไทยจะอาศัยอยู่ริมน้ำเพราะเป็นเส้นทางการ คมนาคมที่สะดวกและเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชิวิตประจำวัน   และงานเกษตรกรรมในบางพื้นที่ที่บริเวณชายน้ำเป็นที่ลุ่ม มีน้ำท่วมถึงเป็นเวลานานในช่วงหน้าน้ำ การสร้างบ้านบริเวณชายฝั่งต้องยกพื้นชั้นบนสูงมาก จึงจะพ้นน้ำซึ่งไม่สะดวกในหน้าแล้งทำให้เกิดการสร้างเรือนในลักษณะ " เรือนแพ "  ที่สามารถปรับระดับของตนเองขึ้นลงได้ตามระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง